https://pixabay.com/th

เทคโนโลยี 5G พลิกอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์
5G Technology: Re-future the Printing Industry

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ที่ทุกคนทั่วโลก กำลังวิตกกังวลกับโรคระบาด ในขณะที่เทคโนโลยีสื่อสารได้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง นับวันอินเทอร์เน็ตจะยิ่งมีความเร็ว แรง ราคาไม่สูง จึงถูกนำมาใช้ในเป็นพื้นฐานในการทำงานและชีวิตประจำวัน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการสอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคสิ่งพิมพ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามเทคโนโลยีธุรกิจสิ่งพิมพ์ ได้เรียนรู้ Technology Disruption มาเป็นลำดับ หลายๆ บริษัทได้นำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการปรับตัว เปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยที่การปรับตัวของธุรกิจ (Digital Transformation) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ได้เป็นเครื่องมือ ปรับกระบวนการทำงานกระบวนการผลิต และการให้บริการให้ดีขึ้น ทำให้องค์กรให้อยู่รอด มีกำไร ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และนี่นับเป็นอีกความท้าทายจากการถูกทำลายจากเทคโนโลยี 5G ซึ่งผู้บริหารธุรกิจส่ิงพิมพ์ยุคพลิกอนาคต จะต้องมีทั้งวิสัยทัศน์ “Ecosystem” และ “Mindset” ที่ถูกต้องต่อเทคโนโลยี มีความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร เรามักจะได้ยินค?าว่ายุค 4G, 5G บ้าง แล้วในแต่ละยุค มีการ แบ่ง “Generation” กันอย่างไร เริ่มจาก 1G เปิดตัวในปี 1980 เป็นโทรศัพท์มือถือใช้งานด้วยเสียงเท่านั้น ต่อมา 2G โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถส่งข้อความและมัลติมีเดียได้ 3G สามารถท่องอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ และในปี 2008 เข้าสู่ยุค 4G ที่รองรับกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก โดยความแตกต่างในแต่ละ Generation แสดงดังตาราง 1.1

ตาราง 1 พัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสาร

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2564 ; สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, 2564.

มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2566 (Huawei, 2021) บริษัทขนาดใหญ่ 97% ของจีน จะใช้งานเทคโนโลยี AI โดยที่ 55% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม จะถูกขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งผู้ให้บริการเทคโนโลยีระดับโลก จะมีรายได้กว่า 60% จากลูกค้าระดับอุตสาหกรรม ดังนั้นแนวโน้มโลกอนาคต 5G จึงเป็นการสร้าง Ecosystem ของแต่ละอุตสาหกรรม ให้เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างครบวงจร โดยในการยกระดับอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบดิจิทัลนี้ จะต้องสร้างความเท่าเทียม ลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Inclusive) เพื่อช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ด้วย

สำหรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย (กสทช., 2564) คาดว่า ปี 2578 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท โดยที่ “ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและการเงิน รวมถึงภาค โทรคมนาคม จะได้รับมูลค่าเพิ่มสูงสุด” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและความยั่งยืนของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2021) ได้จัดทำ “แผนแม่บทแห่งชาติ เพื่อผลักดันเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน: การสร้างศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน (National Policy Driving Digital Technology and Sustainable Development : Building Digital Hub of ASEAN)” เพื่อ วางรากฐานสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน เริ่มจากการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม 5G EIC (Ecosystem Innovation Center) ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมด้านดิจิทัล สำหรับแอปพลิเคชัน และบริการด้าน 5G ของภาค อุตสาหกรรม รวมถึงสร้างและเปิดพื้นที่ให้กับผู้ประกอบการ มีโอกาสดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งปี 2563 ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับสูงสุด เป็นล?าดับที่ 176 จากทุกประเทศทั่วโลก (Speedtest Global Index, 2563) และเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ให้บริการเทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีการผลักดันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุค ดิจิทัล เช่น โครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) โครงการเน็ตประชารัฐ บริการอินเทอร์เน็ตฟรี โครงการศูนย์ Digital Community Center ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลจำนวน 2,277 แห่ง ครอบคลุมทุก 77 จังหวัด

อุตสาหกรรมการพิมพ์จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ได้อย่างไร?

จุดเด่นของเทคโนโลยี 5G เป็นความรวดเร็วในการรับส่งและการรองรับข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ

  1. ความเร็วของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Enhanced Mobile Broadband, eMBB) จะกระตุ้น ให้เกิดการเติบโตของปริมาณกราฟฟิกอย่างก้าวกระโดด และจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง การศึกษา ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร การผลิต และบริการด้านวิชาชีพ เช่น การเผยแพร่ Content ที่มีทั้งภาพ เสียง ความคมชัดระดับ High Definition การเข้าถึงบรอดแบรนด์สาธารณะราคาถูก การฝึกอบรม การศึกษา การใช้งาน Virtual Reality, Augmented Reality, Mobile Computing, ท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่ Cloud Computing ระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ และระบบอัจฉริยะ เช่น Smart Office, Smart Factory, Smart City เป็นต้น
  2. ความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลทต่ำมาก (Ultra-Reliable and Low Latency Communications, uRLLC) ทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบ Real Time มากขึ้น เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง มีความผิดพลาดน้อยหรือเกือบเป็นศูนย์ เช่น ระบบ ควบคุม รถยนต์ไร้คนขับ ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ ระบบการแพทย์ระยะไกล เป็นต้น
  3. ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมากพร้อมกัน โดยใช้พลังงานต่ำ (Massive Machine Type Communications, mMTC) เนื่องจาก 5G สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากถึงสองแสนถึงหนึ่งล้านเครื่องต่อตารางกิโลเมตร และยังลดปริมาณการใช้พลังงานในการเชื่อมต่อถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ การเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายชนิดผ่าน NB-IoT ยังเปรียบเสมือนโปรแกรมเสริมเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง (MNO) มีความปลอดภัยสูง สามารถแข่งขันกับเทคโนโลยี IoT ประเภทอื่นที่ใช้คลื่นความถ่ีประเภทที่ไม่ต้องขอ อนุญาต (Unlicensed Band) ได้

จะเห็นได้ได้ว่าจากจุดเด่น โดยเฉพาะด้านความเร็วของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (mMTC) กับ ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมากพร้อมกัน (uRLLC) จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้าน IoT ให้กับอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้อย่างมาก

วิถีชีวิตใหม่ สังคมดิจิทัลไทย ยุค 5G (New Normal)

จากข้อมูลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2559 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) พบว่า มีผ้ใู ช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 31.7 ล้านคน (50.5%) ส่วนใหญ่ทำ กิจกรรมผ่านสมาร์ทโฟน ที่เป็น Social Network (91.5%) ดาวน์โหลด หนัง เพลง (88%) อัพโหลดข้อมูล (55.9%) และติดตามข่าวสาร (46.5%) ด้าน E-commerce ของคนไทย พบว่า 90% เคยใช้ค้นหาสินค้าและบริการทางออนไลน์ เคยซื้อสูงถึง 82% (34.8 ล้านคน) โดยซื้อผ่านมือถือ 69% รวมมูลค่าสินค้าที่ซื้อออนไลน์สูงถึง 4.31 พันล้านดอลลาร์ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าดิจิทัลได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย จนก้าวเข้าสู้สังคมการใช้ดิจิทัลอย่างเต็มที่ ดังนั้นเราจึงจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนของคนไทยในยุค 5G มากขึ้น โดยในปี 2565 นี้ วิถีชีวิต กับเทคโนโลยี 5G จะกลาย 5G New Normal กันเลยทีเดียว โดยเทคโนโลยี 5G เริ่มจะเห็นได้จากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ดังนี้

  • เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR & VR) เราจะได้ สัมผัสกับประสบการณ์ VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ที่เสริม ความเสมือนจริงมากขึ้น (Depth of field)
  • เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) จะมีการเชื่อมต่อมือถือกับ Devices อื่น ๆ จำนวนมาก ได้ อย่างง่าย ๆ บนเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Tech- nology) จนทำให้เกิดเป็น Smart Home, Smart office, Smart Factory, Smart City โดยที่จะมีระบบเซ็นเซอร์
    ควบคุมระบบปฏิบัติการ ซึ่งอุปกรณ์ IoT จำนวนมาก เหล่านี้จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เช่น การบังคับรถยนต์ขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ (Remote Control Vehicle) ได้
  • Telemedicine เทคโนโลยี 5G กับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดทางไกลด้วย เทคโนโลยี 5G กับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล บริการให้คำปรึกษาแพทย์ทางไกล โดย Telemedicine นี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพูดคุยกับแพทย์แบบเรียลไทม์

แล้ว 5G ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างไร?

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของผู้ใช้ 5G และจำนวนอุปกรณ์ 5G ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ (Huawei, 2021) ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปี 2563 มีจำนวนอุปกรณ์ 5G ที่ออกสู่ท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้นถึง 8 เท่า ผู้ใช้อุปกรณ์มือถือ 5G มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 220 ล้านคน โดยที่เครือข่ายการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ มีจำนวนสูงถึง 1.05 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นถึง 17 เท่า และ 21 เท่าตามลำดับ โดยสถิติดังกล่าวจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีก 3 เท่าภายใน ปี 2564 ประกอบกับ 5G “เป็นโลกของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไร้รอยต่อ จึงไม่ใช่แค่การสื่อสารผ่านมือถือเท่านั้น แต่จะเป็นการทำให้อุปกรณ์ทุกชนิดเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things) และใช้งานร่วมกันได้” ดังนั้นอุตสาหกรรมการพิมพ์ยุค 5G จึงแตกต่างจากยุค 4G อย่างพลิกอนาคตกันเลยทีเดียว

“ อุตสาหกรรมการพิมพ์ จะใช้เทคโนโลยี ที่มีทั้งความเร็ว รับส่งข้อมูลเร็วกว่าถึง 24 เท่า แรงตอบสนองได้รวดเร็วเพียง 1-10 มิลลิวินาที เสถียร เครือข่าย สามารถรองรับการใช้งานได้มาก และเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้มากกว่า 1 ล้านตัว ภายในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ”

จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคอุตสาหกรรมการพิมพ์ ยุค 5G จำนวนมากกว่า 31.7 ล้านคน จะใช้สมาร์ทโฟนเปิดเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและไม่มีสะดุด นั่นหมายความว่าพฤติกรรมการซื้อชายสินค้า บริการของผู้บริโภค ต้องสามารถทำได้แบบทุกที่ ทุกเวลาตามความต้องการ แบบไร้รอยต่อ (Universal) ดังนั้น ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทั้งกลุ่มสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ กระดาษ และบรรจุภัณฑ์ จึงต้อง พร้อมก้าวกระโดดเข้าสู่ยุค 5G อย่างเต็มรูปแบบเพื่อรองรับและตอบสนองตามพฤติกรรมการซื้อ สินค้าและบริการท่ีแตกต่างไปจากเดิมอย่างส้ินเชิง ด้วยการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี “Internet of Things” “คลาวด์” “AI” รวมถึงระบบ “Automation” “ERP-Enterprises Resource Planning” เป็นต้น มาตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยการเชื่อมต่อทุกบริการงานพิมพ์ได้แบบไร้รอยต่อ ตั้งแต่ช่องทางการซื้อที่สะดวก ออนไลน์ ออฟไลน์ หลากหลาย ทั้ง E-Commerce, E-marketplace, Social Commerce และ M-Commerce เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี (UX) และเป็นมิตรกับลูกค้า (UI) รูปแบบและวิธีการ ทั้งบริการรับออกแบบ งานก่อนพิมพ์(Pre-Press) ระหว่างพิมพ์ (Press) และหลังพิมพ์ (Post-Press) การผลิตสิ่งพิมพ์ที่รวดเร็ว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะรายย่อย สินค้ามีหลากหลายบริการชำระเงินที่ง่ายและปลอดภัย ระบบการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้าที่เป็นเลิศ การบริการหลังการขาย และการนำเสนอรูปแบบงานพิมพ์แบบ Customized และ Personalized แบบครบ จบที่เดียวบนสมาร์ทดีไวซ์

ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่จะพลิกอุตสาหกรรมการพิมพ์ ก็คือ การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของธุรกิจในห่วงโซ่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบ ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะถูกนำมาใช้ในการปฏิวัติกระบวนการทำงานของคนในอุตสาหกรรมการพิมพ์จากในอดีตอย่างสิ้นเชิง โดยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายเสมือนตามรูปแบบการใช้งาน เช่น เครือข่ายสำหรับบริการสร้างคอนเทนต์ เครือข่ายบริการงานพิมพ์, เครือข่ายบริการออกแบบ, เครือข่ายบริการวัสดุการพิมพ์ เครือข่ายกระดาษ เครือข่ายบรรจุภัณฑ์ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เป็นต้นซึ่ง Solution ต่างๆ เหล่านี้ จะมี Operators บริการให้สอดคล้องตามความต้องการของแต่ละธุรกิจในแต่ละพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

สำนักงานอัจฉริยะ (Smart Office) รูปแบบของสำนักงานยุค 5G จะต้องมีเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ในสำนักงาน เช่น ระบบบริหารจัดการโครงการ แอปพลิเคชันดูแลช่วยเหลือการทำงานของพนักงาน ปัญหาการปฏิบัติงานและผลการทำงาน การใช้ Chatbot มาช่วยบริหารจัดการลูกค้า 24 ชั่วโมง การใช้และจัดหาทรัพยากรในองค์กร การเปิดปิดเครื่องมืออุปกรณ์ในสำนักงาน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ของพนักงานกับ สำนักงานเป็นเครือข่าย IoT การนำเอาหุ่นยนต์มาทำงานแทนคนในบางต?าแหน่งงานที่ขาดแคลน หรือมีความเสี่ยงสูง การใช้โดรน รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous vehicles) ส่งสินค้า เป็นต้น

โรงพิมพ์อัจฉริยะ และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Printing House & Smart Packaging) ระบบการบริการรับงานพิมพ์จะแตกต่างไปจากเดิม ด้วยการเชื่อมต่อระบบและอุปกรณ์ทุกชนิด ทั้งของพนักงาน และอุปกรณ์ของโรงพิมพ์เข้าเป็นโครงข่ายเดียวกัน ทุกคนสามารถทำงานบริการลูกค้า ได้แบบ One Stop Service ผ่านดีไวซ์เครื่องเดียว โดยเฉพาะการบริการดิจิทัลแพคเกจจิ้งให้กับลูกค้ารายย่อย ตามแนวโน้มการเติบโตปี 2565 ของ 3 กลุ่มธุรกิจ (Smithers Pira, 2020) คือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เวชภัณฑ์และเครื่องสำอางค์ และอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะตลาดบรรจุภัณฑ์ดิจิตอล ทั้งด้วยการพิมพ์ อิงค์เจ็ทและโทนเนอร์ ที่ลูกค้าสามารถเลือกใช้วัสดุ ทั้ง กระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษ บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว บรรจุภัณฑ์ชนิด Direct-to-Shape และการพิมพ์โลหะ โดย IoT จะสามารถเลือกวัสดุที่เชื่อมต่อกับแหล่งผลิตหรือเครือข่ายได้ทันที ทำให้การสั่งซื้อสินค้าและบริการงานพิมพ์ การชำระเงิน ภายหลังการชำระเงิน ยังสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าที่ส่งทำได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังสามารถรอรับงานที่สั่งทำได้ที่บ้าน โดยระบบโรงพิมพ์อัจฉริยะน้ี จะใช้เทคโนโลยี 5G เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ของโรงพิมพ์ ระบบบริหารจัดการทรัพยากร (ERP) ระบบอัตโนมัติ (Automation) โดย อุปกรณ์เซนเซอร์ควบคุมจะตรวจสอบการทำงานได้ ทุกขั้นตอนแบบเรียลไทม์ ทั้งการเปิดปิดไฟฟ้า ระบบควบคุมการผลิต วัตถุดิบ และสินค้าคงคลัง และการ บริการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า รวมถึงการสแกน QR ตรวจสอบและรับสินค้าได้ทันที

สำนักพิมพ์อัจฉริยะ (Smart Publishing) สำนักพิมพ์จะเป็นแหล่งรวบรวมและสร้าง Contents ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ผ่านแพลตฟอร์ม ให้กับทั้งนักเขียน นักแปล บรรณาธิการ พิสูจน์อักษร ตลอดจนการทำจัดรูปเล่ม การออกแบบ ปก และการตีพิมพ์และขายผ่านช่องทางดิจิทัล โดย เฉพาะกลุ่มนักเขียนหน้าใหม่ที่จะมีโอกาสสร้างสรรค์ และตีพิมพ์ผลงานของตนเองได้ ไม่มีขีดจำกัดเหมือนในอดีต ไม่ต้องรอให้เขียนจนจบเล่ม จึงเป็นเสมือนการทดลองตลาดไปในตัวผู้เขียน สำนักพิมพ์ได้สื่อสาร มี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่าน ผ่านคอมมูนิตี้แบบเรียลไทม์ ซึ่งรูปแบบ “ สำนักพิมพ์อัจฉริยะ” นี้ จะพลิกมิติจากการลงทุนผลิตหนังสือกระดาษ มาเป็นการสร้าง Digital Content ได้อย่างหลากหลาย และไม่มีขีดจำกัดในอนาคตเราจะเห็นการเปิดให้จองหนังสือ การเก็บเงินล่วงหน้า และการสั่งพิมพ์จาก Content เป็นกระดาษตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ยุค 5G จึงเป็นการสร้างนวัตกรรม สำนักพิมพ์ ที่มีการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ นอกจากน้ียังสามารถนำ Content ที่ สำนักพิมพ์มีอยู่แล้ว ไปผลิตและจำหน่ายในรูปแบบ (Format) อื่น ๆ ได้ เช่น หนังสือเสียง (Audio), หนังสือ ดิจิทัล, หนังสือกระดาษ การนำไปต่อยอดสู่การขายลิขสิทธิ์ และการผลิตเนอหาในสอสังคมออนไลน์ ละคร ภาพยนตร์ และสื่อใหม่ต่อไปได้โดยง่าย

เทคโนโลยี 5G สามารถจัดการข้อมูลอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ทั้งระบบ ด้วยความรวดเร็วเพียงไม่กี่วินาที เทคโนโลยี AI, Cloud Computing, IoT จะนำมาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาก ยุค 5G จึงเป็นยุคของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการธุรกิจสิ่งพิมพ์ใด ที่สามารถนำเสนอบริการได้อย่างเป็นเลิศ ก็จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้บริโภคยังสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ แบบเรียลไทม์ ดังนั้นธุรกิจสิ่งพิมพ์ยุค 5G นอกจากต้องแข่งขันทั้งเทคโนโลยีและการบริการกันเองแล้ว ยังต้องสร้างสรรค์ ผลิต สินค้า บริการ และส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงการส่งเสริมการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ การลดขยะจากวัตถุดิบและผลผลิตส่วนเกินทเกิดจากภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ รวมถึงจะต้องนำทง Block- chain, IoT และ AI มาใช้วางกรอบกติกาให้กับห่วง โซ่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ จนเกิดเป็น Ecosystem ต่อไปให้ได้

References: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2564).
เทคโนโลยี 5G กับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ของประเทศไทย
สืบค้นจาก http://www.nbtc.go.th/getat- tachment/Services/quarter
Sarraf S. (2019). 5G Emerging Technology and Affected Industries. American Scientific Research Journal for Engineering, Technology, and
Sciences. 55(1),75-82.

บทความโดย
ดร.สุพจน์ รัตนาพันธุ์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า