Internet of Packaging (IoP) บรรจุภัณฑ์เชื่อมต่อกับผู้คนด้วยดิจิทัล

บทความโดย
จิตร์งาม พราหมณีนิล
รองประธานด้านตลาดดิจิทัล และกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ชมรมสร้างสรรค์นวัตกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย

 

บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ทางการตลาด ทั้งการกระตุ้นอารมณ์ สร้างความสนใจ และทำให้มีความสุข ที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้เราอาจรับรู้ผ่านการมองเห็น สัมผัส และได้กลิ่นเพียงเท่านั้น แต่ตอนนี้บรรจุภัณฑ์ได้เปิดเกมใหม่ในยุคดิจิทัลด้วยการใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับผู้คน

Internet of Packaging (IoP) ถือเป็นบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Intelligent Packaging) ประเภทหนึ่งที่เชื่อมต่อสินค้าเข้ากับระบบดิจิทัลผ่านบรรจุภัณฑ์ ยกตัวอย่างเทคโนโลยี เช่น RFID (Radio Frequency Identification), NFC (Near Field Communication) และ AR (Augmented Reality) ทำให้บรรจุภัณฑ์สื่อสารผ่าน Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, เก็บข้อมูลอัตโนมัติ และเชื่อมโยงเครือข่าย แบรนด์ต่างหันมาใช้ IoP มอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคกันมากขึ้น เพราะสามารถเชื่อมต่อโลกดิจิทัล และโลกทางกายภาพเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว เป็นตัวช่วยให้แบรนด์ส่งมอบกิจกรรมที่มีคุณค่าได้หลากหลาย

 

 

วิถีชีวิตใหม่ สังคมดิจิทัลไทย ยุค 5G (New Normal)

  • IoP กับการสร้างแบรนด์
    IoP มีศักยภาพช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย สร้างการซื้อซ้ำ และเชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคได้มีความหมายมากขึ้น เช่น การส่งข้อมูลส่งเสริมการขาย สูตรการชงเครื่องดื่ม หรือวิธีทำเมนูต่าง ๆ เมื่อลูกค้าสแกนผ่านบรรจุภัณฑ์ แท้จริงแล้ว IoP เป็นเหมือนประตูที่ทำให้แบรนด์ใกล้ชิดลูกค้าได้มากขึ้น และทำให้การมีส่วนร่วมผ่านบรรจุภัณฑ์มีประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากกว่าเดิม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถขยายประสบการณ์ที่ดีได้มากขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบสินค้า กันการปลอมแปลง ตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อป้องกันอาหารที่เป็นอันตรายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  • IoP กับการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์
    IoP สามารถบอกสถานที่ทิ้งและแยกขยะ แถมลูกค้ายังได้รับ Reward สำหรับความพยายามด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ส่วนข้อมูลการทิ้งขยะที่รวมรวมไว้ในระบบ IoP นำมาใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิล และนำกลับมาใช้ใหม่
  • IoP สร้างความปลอดภัยของอาหาร
    IoP เชื่อมต่อกับผู้บริโภคที่ต้องการทราบแหล่งที่มาของอาหารภายในบรรจุภัณฑ์ รวมถึงข้อมูลทางโภชนาการที่มีผลกับผู้แพ้อาหาร ตัวอย่างเช่น IoP ใช้ระบบ Blockchain ที่ปลอดภัยน่าเชื่อถือตรวจสอบห่วงโซ่การผลิต ช่วยให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์มีสารปนเปื้อนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
  • IoP กับธุรกิจค้าปลีก (Retail) และช่องทางการขาย
    IoP กำลังเติบโตในทุกแง่มุมรวมถึงธุรกิจค้าปลีก และการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งด้วยตัวอย่างเช่น การสแกนที่บรรจุภัณฑ์แล้วสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ผ่าน Smartphone, ซูเปอร์มาร์เก็ตใช้ Sensor วัดความสดของอาหาร และ Smart Tag ในการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าตามโปรโมชั่น รวมถึงแจ้งให้พนักงานทราบเพื่อเติม หรือหมุนเวียนสินค้า, ระบบติดตามสินค้าป้องกันการโจรกรรม และระบบจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างอัตโนมัติ

ทั้งหมดนี้ อาจเป็นเพียงนวัตกรรมบางส่วนเท่านั้น เพราะศักยภาพของ Internet of Packaging (IoP) อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแบรนด์ว่าจะส่งมอบคุณค่าไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนด้วย Internet of Packaging ในครั้งนี้จะทำให้เราได้เห็นถึงเครือข่ายข้อมูลที่มีประโยชน์ นำมาแก้ไขปัญหาพร้อมกับสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านบรรจุภัณฑ์มากขึ้นอย่างแน่นอน

อ้างอิง : https://www.ift.org/news-and-publications/food-technology-magazine/issues/2020/february/columns/how-iop-can-connect-the-packaged-food-value-chain

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า